กรณีศึกษา...

กรณีศึกษาในประเทศไทย...

ปากทางเข้า มมส
ปากทางเข้าชุมชน... พบเห็นได้ทั่วไปในชุมชนชนบท เพื่อสร้างสัญลักษณ์ให้คนนอกชุมชนรับรู้ ถึงการเข้ามาในเขตชุมชน การจัดบริเวณทางเข้าดังกล่าว อาจเป็นเพียงการปักป้าย ทำซุ้มประตู หรือการจัดบริเวณทาง เข้าในลักษณะการสร้างเส้นนำสายตา ด้วยหลักนำทาง หรือสร้างสิ่งกีดขวาง เช่น เกาะกลาง หรือเนินชะลอความเร็ว ไว้ในบริเวณปากทางเข้า




ปากทางเข้า ม.มหาสารคาม... มีการจัดบริเวณทางเข้าในลักษณะการสร้างสิ่งกีดขวางบนถนน (Physical restrictions) โดยการสร้างเกาะกลาง และป้อมปากทางเข้า

รถวิ่งช้าลง หลังจากติดตั้งปากทางเข้าดังกล่าว โดยจากผลการสำรวจความเร็วบริเวณทางแยกใกล้ๆป้อมปากทางเข้า ในช่วงก่อนและหลังติดตั้งป้อมปากทางเข้า พบว่า ความเร็วของรถที่วิ่งผ่านทางแยกในช่วงสัญญาณไฟเขียว ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ล้วนลดลงในทั้งสองทิศทาง



รถจักรยานยนต์ (กม./ชม.)
รถยนต์ (กม./ชม.)
ขาเข้า
ความเร็วเฉลี่ย
ก่อน
44
43
หลัง
31 (-29%)
24(-44%)
S.D.
ก่อน
8.8
8.7
หลัง
9.3
7.1
ขาออก
ความเร็วเฉลี่ย
ก่อน
46
59
หลัง
38 (-18%)
37 (-37%)
S.D.
ก่อน
10.8
 12.3
หลัง
7.4
 10.2





ตั้งกรวยชะลอความเร็ว-บ้านคำนางปุ่ม เขาสวนกวาง...





ชุมชนคำนางปุ่ม... อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่มีความพยายามในการจัดการความปลอดภัยบนท้องถนนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน มูลเหตุสำคัญที่ทำให้ชุมชนต้องชวนกันมาจัดการความปลอดภัยทางถนน สืบเนื่องมาจากสภาพทางกายภาพของชุมชนคำนางปุ่มที่เป็นพื้นที่เนิน เขตทางแคบ ชุมชนเป็นทางผ่านของอีก 30 หมู่บ้านที่ใช้ถนนซึ่งทอดยาวผ่านชุมชน(ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร มีซอยเข้าออก 13 ซอย)เป็นทางสัญจรเข้าตัวอำเภอ มีรถบรรทุกอ้อย รถบรรทุกมัน และผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆ ใช้ทางมาก โดยเฉพาะในฤดูปิดหีบอ้อย 

บทบาทของพี่เลี้ยงสอจร...ชุมชนคำนางปุ่ม ดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยการผลักดันของ พ.ต.อ.อานนท์ นามประเสริฐ ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธร อำเภอเขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น นอกเหนือจากภารกิจของงานตำรวจแล้วเรายังพบว่า ผู้กำกับอานนท์ยังสามารถทำงานเพื่อรับใช้สังคมในนาม พี่เลี้ยง สอจร 

ตั้งกรวยยางชะลอความเร็ว... หนึ่งในหลายกิจกรรมที่ชุมชนได้ดำเนินการเพื่อ ควบคุมความเร็วของรถบริเวณหน้าโรงเรียนในชุมชน คือการนำกรวยยางไปวางบริเวณกึ่งกลางถนนเป็นแนวยาวบริเวณหน้าโรงเรียนในช่วงเช้าก่อนเข้าเรียนและเย็นหลังเลิกเรียน เมื่อทำการสำรวจและเปรียบเทียบความเร็วบริเวณหน้าโรงเรียน ในช่วงที่ตั้งกรวยและในช่วงที่ไม่ตั้งกรวยเป็นเวลา 30 นาที พบว่ารถทุกประเภท ใช้ความเร็วลดลงเมื่อมีการตั้งกรวย 


ยานพาหนะ
รถจักรยานยนต์
(กม./ชม.)
รถยนต์
(กม./ชม.)
รถบรรทุก
(กม./ชม.)
Mean speed
ก่อน
72
62
31
หลัง
48 (-33%)
44(-29%)
29 (-6%)
S.D.
ก่อน
25
15
10
หลัง
12
13
9





คำถามที่ยังรอการพิสูจน์จากการดำเนินงานในชุมชนอื่นๆคือ คนขับลดความเร็วเพราะสภาพถนนที่ดูแคบลงเมื่อตั้งกรวย หรือ คิดว่ากรวยเป็นตัวแทนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

เนินกระแทก...

เนินกระแทกหรือเนินกระโดด... เป็นรูปแบบของเนินที่ใช้อย่างแพร่หลายในบ้านเรา มีความสูงประมาณ 7-15 เซนติเมตร กว้าง 0.3-1 เมตร ในต่างประเทศเรียกเนินในลักษณะนี้ว่า Speed bump โดยลักษณะการใช้งานจะติดตั้งเฉพาะ ในบริเวณลานจอดรถ หรือถนนส่วนบุคคล ซึ่งเป็นถนนที่ต้องการให้รถช้ามากๆ และโดยปกติรถก็วิ่งช้าอยู่แล้ว 

สร้างความลำบากเกินจำเป็น เนินในลักษณะนี้ โดยส่วนมากรถจะวิ่งข้ามด้วยความเร็วขณะข้ามน้อยกว่า 8 กม./ชม. ซึ่งช้ากว่าความเร็วขณะใช้ข้ามเนินชะลอความเร็วมาก (ประมาณ 22-26 กม./ชม.) ดังนั้น เมื่อติดตั้งเนินชนิดนี้บนถนนสายย่อย สายท้องถิ่น จะสร้างความลำบากเกินจำเป็นแก่ผู้ขับขี่เมื่อต้องชะลอความเร็วเพื่อข้ามเนิน โดยเฉพาะกับรถมอเตอร์ไซค์



ติดผิดที่ อันตรายมาก... จากลักษณะสูงชันของเนิน และขนาดของเนินซึ่งมักสังเกตได้ยาก อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุบริเวณเนินได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาค่ำคืน และจะอันตรายมากขึ้น  ถ้าติดตั้งเนินในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม เช่น ติดตั้งชิดทางแยก ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุจะมีโอกาสรุนแรงมากขึ้น หากมีรถทิศทางอื่นวิ่งผ่านทางแยก หรือนำไปติดตั้งบนถนนสายรองหรือสายหลัก ที่มีรถมาก วิ่งด้วยความเร็วสูง



ติดบนถนนสายรอง เสี่ยงเพิ่มปัญหาชนท้าย... จากการเก็บข้อมูลความเร็วของรถที่วิ่งผ่านยางชะลอความเร็วที่ติดตั้งบนถนนสายรอง และหาค่าความเร็วเฉลี่ย  พบว่า รถแต่ละชนิดมีลักษณะการชะลอความเร็วที่ต่างกัน โดย รถมอเตอร์ไซค์ต้องลดความเร็วลงมากที่สุด และส่วนมากลดความเร็วเมื่อข้ามเนิน ในขณะที่รถกระบะข้ามเนินด้วยความเร็วสูงที่สุด โดยบางคันลดความเร็วและบางคันแทบจะไม่ลดความเร็ว  ในทางวิศวกรรมจราจร การใช้ความเร็วที่แตกต่างกันมากขณะข้ามเนิน เป็นลักษณะที่อันตรายและอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุชนท้ายได้

ยานพาหนะ
ความเร็วก่อนผ่านยาง (กม./ชม.)
ความเร็วช่วงผ่านยาง(กม./ชม.)
รถจักรยานยนต์
รถเก๋ง
กระบะ
รถจักรยานยนต์
รถเก๋ง
กระบะ
ความเร็วเฉลี่ย
53
62
55
26(-50%)
33(-47%)
37(-32%)
S.D.
10.9
9.3
10.3
 7.5
15.3
 20.4


เนินชะลอความเร็วโดยการมีส่วนร่วมของชมชน...

หมู่บ้านท่าขอนยาง หมู่ 2 อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เป็นชุมชนที่เข้าร่วมรับฟังการอบรมเรื่องการจัดการปัญหาความเร็วในชุมชน โดยถนนในหมู่บ้านนี้ เป็นถนนลาดยาง 2 ช่องจราจรสภาพดี  เขตทางแคบ บ้านเรือนตั้งอยู่ชิดริมถนน ในหมู่บ้านมีปัญหาการมองเห็นทางแยก ระยะมองเห็นที่ทางแยกไม่เพียงพอ และปัญหาความเร็วของรถที่วิ่งผ่านหมู่บ้าน  หลังเข้ารับการฝึกอบรม จึงได้จัดทำลูกเนินชะลอความเร็วบนถนนสายท้องถิ่นในหมู่บ้าน

เนินชะลอความเร็วที่ชุมชนจัดทำขึ้น เป็นเนินหลังแบนทำจากคอนกรีต ขนาดความกว้าง 3.9 เมตร สูง 0.075 เมตร มีทางลาดข้างละ 1.20 เมตร พร้อมติดป้ายเตือนเนินชะลอความเร็ว 



ต้นทุนค่าก่อสร้าง เนินชะลอความเร็ว 1 ลูก ราคาประมาณห้าพันบาท (ไม่รวมค่าแรงงาน ซึ่งมาจากความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน) ซึ่งค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้น หากสีและป้ายจราจรที่ใช้มีความสะท้อนแสงมากขึ้น 

รายละเอียด
จำนวน
ราคา/หน่วย
ราคารวม  (บาท)
คอนกรีตคอนกรีตผสมเสร็จ
0.7 คิว
1700
1,700
สี
2 กระป๋อง
600
1,200
ไม้แบบ
1 แผ่น
290
290
ตะปู
0.5 กิโลกรัม
150
150
ป้ายเตือนเนินชะลอความเร็ว (เอนจิเนียร์เกรด)
2 แผ่น
700
1,400
รวมราคาทั้งสิ้น
4,740







ป้ายเตือนเนินชะลอความเร็ว... มีความสำคัญมากในการบอกตำแหน่งเนิน จากประสบการณ์การทำงานในชุมชนพบว่า สีที่ใช้ทาเนินชะลอความเร็วมักเป็นสีน้ำมันที่มีค่าการสะท้อนแสงต่ำ มองไม่เห็นในเวลากลางคืน อีกทั้งถนนในชุมชนชนบทจะมีฝุ่นดินมาก หากไม่มีการบำรุงรักษาที่ดี แม้ในเวลากลางวันก็จะสังเกตเห็นเนินลำบาก ดังนั้น ควรมีการติดตั้งป้ายเตือนบริเวณจุดเริ่มต้นของเนินทั้งสองข้าง(หากเป็นไปได้) เพื่อบอกตำแหน่งเนิน ลดอันตรายซึ่งอาจเกิดกับผู้ขับขี่ ซึ่งป้ายควรมีการสะท้อนแสงให้สามารถมองเห็นได้ในเวลากลางคืน



ผลที่เกินคาด... จากการให้ทุนสนับสนุนบางส่วนในการจัดทำเนินชะลอความเร็วในหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการเพียง 2 หมู่บ้าน หลังการปฏิบัติการสร้างเนินชะลอความเร็วพบว่า มีการขยายผลการดำเนินงานไปสู่ชุมชนข้างเคียงอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิ- ภาพ คือ มีการสร้างเนินชะลอความเร็วบนถนนสายท้องถิ่นในหมู่บ้านอื่นๆ ด้วยต้นทุนภายในชุมชนเอง ทำให้เริ่มเกิดจุดชะลอความเร็วบนทางสายย่อย อย่างครอบคลุม ตามหลักการของการสยบการจราจรบนโครงข่ายถนนสายย่อย


ตำแหน่ง ...ของเนินชะลอความเร็วที่มีการสร้างขึ้นใหม่ จะตั้งอยู่ก่อนถึงทางแยกในหมู่บ้านและทางเชื่อมไปยังถนนสายหลัก ประมาณ 20 เมตร เพื่อชะลอความเร็วของรถที่จะเข้าสู่ทางแยกที่มีระยะการมองเห็นไม่เพียงพอ

ขนาด... ของเนินที่สร้างขึ้นใหม่ แม้ไม่ได้สร้างตามขนาดมาตรฐานของต่างประเทศแต่ก็มีรูปร่างที่ค่อนข้างเป็นมิตรต่อผู้ขับขี่ คือ สูงประมาณ 5 เซนติเมตร และกว้าง 1 เมตร ซึ่งเนินขนาดนี้ จะมีต้นทุนค่าก่อสร้างค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับเนินขนาดมาตรฐาน




เรียบเรียงจากงานวิจัย
โครงการ : การศึกษาและพัฒนาชุดความรู้ด้านวิศวกรรมจราจรเพื่อความปลอดภัยทางถนนในชุมชนชนบท ระยะที่ 1 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น