เพิ่มความเร็ว เพิ่มระยะหยุด....
การหยุดรถจะใช้ระยะทางมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับว่า
รถวิ่งมาด้วยความเร็วเท่าใดและผู้ขับขี่สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ (the reaction time) ได้ไวเพียงใด !!!
“เมื่อคุณขับเร็วขึ้นสองเท่า คุณต้องการระยะทางในการหยุดรถเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า”
ระยะเวลาเฉลี่ยในการตอบสนองต่อเหตุการณ์
(ตั้งแต่รับรู้เหตุการณ์จนกระทั่งยกขาแตะที่เบรก)
มีค่าประมาณ สอง วินาที
เช่น : เมื่อขับขี่มาด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีความจำเป็นต้องเบรกกะทันหัน
ก่อนที่คนขับจะทันได้แตะเบรก
จะยังคงวิ่งต่อไปอีก 34 เมตร(ในช่วงเวลาที่คนขับคิดตอบสนองต่อเหตุการณ์) และใช้ระยะทางอีก
21
เมตรในการห้ามล้อ ก่อนที่รถจะหยุด รวมระยะทางที่ใช้ในการหยุดรถทั้งสิ้น 55 เมตร หรือถ้าขับขี่มาด้วยความเร็ว
100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ต้องใช้ระยะทางทั้งหมดอย่างน้อย 116
เมตรก่อนที่รถจะหยุดนิ่ง
หมายเหตุ:
รถจักรยานยนต์และรถบรรทุกต้องการระยะหยุดมากกว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคล
เร็วกว่ากันเพียง 10 ก.ม./ช.ม.
จากภาพสถานการณ์ตัวอย่าง
ขณะที่รถสีเขียวและรถสีเหลืองอยู่ห่างทางแยกในระยะ
60
เมตร
โดยที่รถสีเหลืองวิ่งเร็วกว่ารถสีเขียวเพียง
10
กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ทันใดนั้น
มีรถบรรทุกสีฟ้าผ่านทางแยกกะทันหัน
- รถสีเขียวไม่ชน หยุดได้ทันพอดี
- รถสีเหลือง จะชนรถบรรทุกด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
“ชนที่ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงรุนแรงแค่ไหน”
ร่างกายเราทนได้เพียง
การตายและการบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุ
เกิดเนื่องจากการที่ร่างกายรับแรงจากการปะทะเกินกว่าขีดจำกัดที่ร่างกายมนุษย์จะรับได้
ขีดจำกัดดังกล่าว[1] เช่น
ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถทนต่อการบาดเจ็บ
หากถูกชนด้วยความเร็วที่มากกว่า 30 กม./ชม.
การนั่งรัดเข็มขัดนิรภัยภายในรถสมัยใหม่ที่มีระบบความปลอดภัยเพียงพอ
มักจะสามารถปกป้องชีวิตคนขับและผู้โดยสารได้ในกรณีที่
1. ขับรถยนต์ชนเสาหรือต้นไม้ที่ความเร็วต่ำกว่า 40
กม./ชม.
2. ถูกรถขนาดเดียวกันชนด้านข้างที่ความเร็วต่ำกว่า
50 กม./ชม.
3. ชนประสานงากับรถขนาดเดียวกันที่ความเร็วต่ำกว่า
70 กม./ชม.
"เลือกความเร็วที่ใช้ = เลือกความเร็วที่ชน"
เพิ่มความเร็ว...เพิ่มแรงปะทะขณะชน…
เมื่อเกิดการชน
ผู้ใช้ถนนกลุ่มเสี่ยง เช่น คนเดินเท้า คนขี่จักรยาน และจักรยานยนต์
เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมากต่อการบาดเจ็บล้มตาย โดยโอกาสรอดชีวิตจะยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ
เมื่อความเร็วขณะชนเพิ่มขึ้น
จากภาพ
เห็นได้ว่า คนเดินเท้าที่ถูกชน
- ที่ความเร็ว 30 กม./ชม.ส่วนมาก (9 ใน 10 คน) จะรอดชีวิต
- ที่ความเร็ว 50 กม./ชม. น้อยคนนัก(1 ใน 10 คน) จะมีโอกาสรอดชีวิต
- ที่ความเร็ว 60 กม./ชม.ขึ้นไป แทบจะไม่มีโอกาสรอบชีวิต
ถนนในชุมชน โปรดลดความเร็ว...
“ถ้ามีเด็กวิ่งตัดหน้ารถ ในระยะ 13 เมตร”
ลองดูผลของอุบัติเหตุที่จะเกิดกับคนขับ 3 คน ใน 3
สถานการณ์ โดยที่กราฟแสดงระยะหยุดรถในรูปนี้ สมมติให้คนขับคิดและตัดสินใจภายใน 1
วินาที
คนขับคนที่ 1
ขับรถด้วยความเร็ว 30 กม./ชม.
รถคันนี้จะสามารถหยุดรถได้ทันพอดีก่อนที่จะชนเด็ก
คนขับคนที่ 2 ขับรถมาด้วยความเร็ว 50 กม./ชม.
ลองมาดูภาพช้าในสถานการณ์นี้
ในช่วงเวลาที่คนขับใช้ในการสังเกตเห็นเด็กและตัดสินใจกระแทกเบรก จะพบว่ารถจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอีก 14 เมตร
ด้วยความเร็ว 50 กม./ชม.
นั่นหมายความว่า
รถคันนี้ไม่ทันได้เริ่มลดความเร็ว และเด็กจะถูกชนด้วยความเร็วที่ 50 กม./ชม.
ซึ่งโอกาสรอดชีวิตมีน้อยมาก
คนขับคนที่ 3 ขับรถมาด้วยความเร็ว มากกว่า 60 กม./ชม.
รถคันนี้หยุดไม่ทันแน่ๆ
และเด็กคนนี้คงไม่มีโอกาสรอดชีวิต
"ท่านมีทางเลือก และเลือกได้
ว่าจะเป็นคนขับรถคนไหน"
การเลือกใช้ความเร็วอย่างปลอดภัย...
หลักการคือ
“
เลือกใช้ความเร็วที่จะสามารถหยุดได้ทัน ”
ในระยะที่มองเห็นได้ชัดเจน คุณควร
เว้นระยะห่างจากคันหน้าให้เพียงพอ กฎความปลอดภัยคือ
อย่าอยู่ใกล้คันหน้ากว่าระยะหยุดปลอดภัยของเรา[2] โดย
- เว้นระยะเวลาห่างจากคันหน้า อย่างน้อย 2 วินาทีในสภาพปกติ อย่างน้อย 4 วินาทีบนถนนเปียก
- หากขับรถขนาดใหญ่ในอุโมงค์ ควรเว้นระยะเวลาห่างจากคันหน้าอย่างน้อย 4 วินาที
- หากจำเป็นต้องหยุดในอุโมงค์ จอดห่างจากคันหน้าอย่างน้อย 5 เมตร
ในเวลากลางคืน คุณควร !!!
สามารถหยุดรถได้ในระยะที่ไฟหน้ารถส่องถึง
เส้นสีดำ
แสดงระยะที่ไฟหน้ารถส่องถึง ซึงคือระยะที่คนขับสามารถมองเห็นถนนด้านหน้าได้
เส้นสีแดง
คือระยะหยุดรถที่สัมพันธ์กับความเร็วที่ขับขี่รถคันนี้วิ่งเร็วเกินไป ขับให้ช้าลง
ในเวลาทัศนะวิสัยไม่ดี คุณควร
เว้นระยะห่างจากคันหน้าให้เพียงพอ กฎความปลอดภัยคือ อย่าอยู่ใกล้คันหน้ากว่าความเร็วปลอดภัยของเรา
เช่น
- หมอกลงหนัก มองเห็นข้างหน้าไม่เกิน 55 เมตร ถ้าจะให้สามารถหยุดรถได้ทันเมื่อมีเหตุฉุกเฉินข้างหน้า
o
คุณควรขับช้ากว่า
60 กม./ชม. ถ้าคิดว่าสามารถรับรู้เหตุการณ์ข้างหน้าและตอบสนองได้ภายใน 2 วินาที
o
คุณควรขับช้ากว่า
80 กม./ชม. ถ้าคิดว่าสามารถเห็นเหตุการณ์และตอบสนองได้ภายใน 1 วินาที
หมายเหตุ :
จำไว้ว่า รถขนาดใหญ่ และรถจักรยานยนต์ต้องการระยะหยุดมากกว่ารถยนต์
ลดความเร็ว ลดอุบัติเหตุ...
จากข้อเท็จจริงข้างต้นทั้งหมด สรุปได้ว่า ความเร็ว ส่งผลต่อ
- โอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากที่ความเร็วสูงๆ คนขับจะควบคุมรถ หยุดรถ และหลบหลีกอุบัติเหตุได้ยากขึ้น
- ความรุนแรงในการบาดเจ็บ เนื่องจากการชนที่ความเร็วสูงๆ แรงปะทะที่เกิดขึ้นจะยิ่งมากขึ้น
ดังนั้น
หากลดความเร็วลง ผู้ขับขี่จะ
1.
มีเวลามากขึ้นในการรับรู้เหตุการณ์และหลีกเลี่ยงการชน
2.
ใช้ระยะทางในการเบรกรถน้อยลง
3.
ลดโอกาสที่จะเกิดการเสียการควบคุมรถ
4.
รับแรงกระแทกน้อยลง
และบาดเจ็บน้อยลง หากเกิดการชน
" เลือกใช้ความเร็วให้เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยบนถนนของทุกคน "
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
( การลดลงเพียงเล็กน้อยของความเร็วที่ใช้เดินทางจะส่งผลอย่างมาก...)
(...ต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ )
ทั่วโลก
มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วและการเกิดอุบัติเหตุโดยวิธีการต่างๆ เช่น
1.
การศึกษาผลกระทบก่อนและหลัง การเปลี่ยนขีดจำกัดความเร็ว (Speed limit)
2.
การศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราการเกิดอุบัติเหตุกับความเร็ว
บนถนนที่มีลักษณะเดียวกัน แต่มีการใช้ความเร็วแตกต่างกัน
3.
การวิเคราะห์การเกิดอุบัติเหตุในเชิงลึกและการฟื้นฟูสภาพการเกิดอุบัติเหตุ(ทำให้สามารถคำนวณความเร็วของรถขณะที่ชนเพื่อเปรียบเทียบกับความเร็วของรถที่ใช้ถนนในบริเวณเดียวกัน)
ในปี 2004 คณะนักวิจัยชาวสวีเดน[3]
ได้ทำการศึกษาผลของงานวิจัย 98 เรื่อง
ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วและอัตราการบาดเจ็บล้มตายระหว่างปี ค.ศ.1966 -2004
โดยงานวิจัยเหล่านี้ศึกษาความเร็วในช่วง 25-120
กิโลเมตรต่อชั่วโมง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบทใน 20 ประเทศ
ผลวิเคราะห์ผลงานวิจัย 98 เรื่องนี้พบว่า
“สำหรับการเปลี่ยนแปลงความเร็วเพียงเล็กน้อย
เปอร์เซ็นต์การตายที่เปลี่ยนไป มีค่าประมาณ สี่เท่า ของเปอร์เซ็นต์ความเร็วที่เปลี่ยนไป”
เช่น ความเร็วเพิ่มหรือลด 1
เปอร์เซ็นต์ อัตราการตายจะเพิ่ม 5 เปอร์เซ็นต์ หรือลด 4 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
ความเร็วเพิ่มหรือลด 10 เปอร์เซ็นต์
อัตราการตายจะเพิ่ม 54 เปอร์เซ็นต์ หรือลด 38 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
หมายเหตุ : จากตัวเลขข้างต้น ถ้าเพียงเราลดความเร็วได้
10 เปอร์เซ็นต์ เป้าหมายอัตราการตายลงครึ่งหนึ่ง ในบ้านเราอาจสามารถเป็นจริงได้
[1] Austroads (2010) Safe Intersection Approach Treatments and Safer Speeds through Intersections: Final Report, Phase 1.
[2] http://www.direct.gov.uk/en/TravelAndTransport/Highwaycode/DG_070304
[2] http://www.direct.gov.uk/en/TravelAndTransport/Highwaycode/DG_070304
เรียบเรียงจากงานวิจัย
โครงการ : การศึกษาและพัฒนาชุดความรู้ด้านวิศวกรรมจราจรเพื่อความปลอดภัยทางถนนในชุมชนชนบท
ระยะที่ 1
มีประโยชน์มากครับ
ตอบลบขออนุญาตแชร์ความรู้ที่เป็นประโยชน์นี้ในเพจตำรวจทางหลวงอุดรธานีนะครับ
ตอบลบยินดีเป็นอย่างยิ่งเลยค่ะ
ลบขอบคุณสำหรับความรู้นะครับ
ตอบลบ