อุบัติเหตุจราจร : หายนะแท้จริง
สาเหตุหลัก คร่าชีวิตเด็ก วัยรุ่นและวัยทำงานทั่วโลก
องค์การอนามัยโลก (WHO) ชี้ว่าทุกทุกวันมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร
เฉลี่ย 3,242 คน โดยอุบัติเหตุจราจร คือ สาเหตุอันดับ 1
ที่คร่าชีวิตกลุ่มวัยรุ่นซึ่งมีอายุระหว่าง 15-29 ปี และเป็นสาเหตุอันดับที่ 2
ที่ทำให้เด็กอายุ 5-14 ปีต้องตายก่อนวัยอันควร อีกทั้งเป็นสาเหตุอันดับที่ 3
ที่ทำให้คนกลุ่มวัยแรงงาน อายุระหว่าง 30-44 ปีเสียชีวิต[1]
คนไทยตายเฉลี่ยปีละ 20 คนต่อแสนประชากร
ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยนับว่ามีความรุนแรงมาก
จากรายงานสถิติคดีอุบัติเหตุจราจรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า
อัตราการเสียชีวิตระหว่างปี พ.ศ. 2547
– 2554 แม้ดูเหมือนจะมีแนวโน้มที่ลดลง
แต่ยังคงมีอัตราการตายเฉลี่ยสูงถึงปีละ 20 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน
ซึ่งสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขในประเทศที่พัฒนาแล้ว
มูลค่าสูญเสียต่อปีเกือบเท่าค่าก่อสร้างรถไฟฟ้า 6 เส้นทาง
ในแง่ของความสูญเสีย หากพิจารณาเป็นมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ตามรายงานการศึกษาของกรมทางหลวงเมื่อปี 2550 พบว่ามีมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจรวมทั้งสิ้นปีละ 232,855 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 2.81 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งประเทศ[2] ซึ่งมากกว่างบประมาณสร้างสนามบินสุวรรณภูมิกว่าเท่าตัว หรือคิดเป็นมูลค่าเกือบเท่ากับการสร้างรถไฟฟ้า 6 เส้นทาง ในปี พ.ศ. 2551รัฐตั้งเป้า ลดอัตราการตายลงครึ่งหนึ่ง
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศทั่วโลกที่กำลังเผชิญกับผลกระทบจากอุบัติเหตุจราจรอย่างหนัก
ทำให้รัฐบาลต้องยกให้ปัญหาดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติ โดยกำหนดให้ ปี 2554 – 2563 เป็น
“ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน (Decade of Action for
Road Safety)” มีเป้าหมายคือ ลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลงครึ่งหนึ่ง
หรือในอัตราที่ต่ำกว่า 10 คนต่อแสนประชากร
ถนนชุมชน:
บริเวณเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง
“ขับใกล้แค่นี้
ไม่เป็นไรหรอก”
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.)
ชี้ว่า ในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา การเสียชีวิตโดยมาก ไม่ได้เกิดขึ้นบนทางหลวง ทางด่วน
หรือทางหลวงชนบท หากแต่เกิดบนถนนในเขตเมือง เขตเทศบาล เขตชุมชน จากการเดินทางใกล้ๆ
ในถนนสายสั้นๆ ซึ่งเรามักจะมองข้ามและคิดว่า “ใกล้แค่นี้ ไม่เป็นไร”
คำถามที่ต้องการคำตอบ !!!
ในขณะที่วิศวกรที่มีความรู้ด้านถนนค่อนประเทศทำงานในสังกัดกรมทางหลวง
กรมทางหลวงชนบท และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(ซึ่งการตายเพียงร้อยละ14 และร้อยละ 1
ที่เกิดขึ้นบนโครงข่ายทางหลวง และทางหลวงชนบท ตามลำดับ)
ใครจะเป็นผู้ดู
ปรับปรุง ถนนในเขตเมือง เขตเทศบาล และในชุมชน ซึ่งอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
ที่ครองแชมป์การตายถึงร้อยละ 85 หรือประมาณ 9, 784 คนต่อปี
แล้วหากถนนเหล่านี้
ยังไม่สามารถปรับปรุงให้มีความปลอดภัยได้มาตรฐานในเร็ววัน
มาตรการใดบ้างที่จะสามารถบรรเทาความสูญเสียจากอุบัติเหตุ
ที่จะเกิดบนถนนเหล่านี้ได้
ขับรถเร็ว:
เหตุหลักของอุบัติภัย...
ผลการศึกษาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุบนถนนในประเทศไทย[3]
ระบุอันดับแรกคือ การขับรถเร็วเกินอัตราที่กำหนด อันดับสองคือ ตัดหน้ากระชั้นชิด
อันดับสามคือ ตามกระชั้นชิด ตามด้วยแซงรถผิดกฎหมายและเมาสุรา
ในต่างประเทศ
การถูกเรียกปรับจากการใช้ความเร็วอาจเกิดได้ในหลายกรณี เช่น
ขับรถเกินหรือต่ำกว่าความเร็วที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับช่วงถนนนั้นๆ หรือ
ขับรถด้วยความเร็วที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์รอบด้าน
แม้ว่ายังไม่เกินหรือต่ำกว่าขีดจำกัดความเร็วที่กำหนดไว้ก็ตาม
[1] จากผลการจัดลำดับสาเหตุของการเสียชีวิตของคนวัยต่างๆในปี พ.ศ. 2547 โดย WHO
[2]ที่มา บทความ มองโลกกับความตายด้วยอุบัติเหตุจราจร สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ www. hiso.or.th
[3] รายงานการศึกษา โครงการการวิจัย การใช้ความเร็วในการขับขี่ที่ปลอดภัย
ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย www.tarc.ait.ac.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น