โครงการ : การศึกษาและพัฒนาชุดความรู้ด้านวิศวกรรมจราจรเพื่อความปลอดภัยทางถนนในชุมชนชนบท ระยะที่ 1
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับผลกระทบจากอุบัติเหตุจราจรอย่างหนัก
ทำให้รัฐบาลต้องยกให้ปัญหาดังกล่าวเป็นวาระแหงชาติ โดยกำหนดให้ ปี 2554 – 2563 เป็น “ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน (Decade
of Action for Road Safety)” มีเป้าหมายคือ
ลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลงครึ่งหนึ่ง หรือในอัตราที่ต่ำกว่า 10
คนต่อแสนประชากร
จากสภาพการณ์ในปัจจุบัน
การจะไปให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ภายใน 10 ปีข้างหน้าเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก มาตรการหนึ่งที่พอจะช่วยทำให้มองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์นี้
คือ มาตรการการควบคุมความเร็ว ซึ่งมุ่งเน้นการจัดการความเร็วในการขับขี่ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ถนนกลุ่ม
มาตรการควบคุมความเร็ว
นับเป็นมาตรการหลักและมาตรการแรกที่นิยมใช้ในการลดการตายบนถนนทั่วโลก
ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะผลการศึกษาจำนวนมากรายงานตรงกันว่า
ความเร็วที่ลดลงเพียงเล็กน้อย จะช่วยลดอัตราการตายได้เป็นอย่างมาก
เมื่อย้อนมองสาเหตุของอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย
พบว่า สาเหตุหลักอันดับแรกของการตายบนถนนคือ การขับรถเร็วเกินกำหนด โดยกระทรวงคมนาคมรายงานว่า
3 ใน 4 ของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ เสียชีวิตบนถนนสายย่อยและถนนสายรอง
ในเขตเมือง ในเขตชุมชน ดังนั้น การควบคุมความเร็วของถนนในเขตเมืองและชุมชนจึงเป็นประเด็นที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญ
หากต้องการไปให้ถึงการจะไปให้ถึงเป้าหมายที่รัฐที่วางไว้ภายใน 10 ปีข้างหน้า
เอกสารฉบับนี้
เรียบเรียบจากงานวิจัยเรื่อง
การศึกษาและพัฒนาชุดความรู้ด้านวิศวกรรมจราจรเพื่อความปลอดภัยทางถนนในชุมชนชนบท
ระยะที่ 1 ความเร็ว สนับสนุนโดย ศวปถ. โดยเปิดประเด็นการนำเสนอด้วยภาพรวมของอุบัติเหตุจราจรในประเทศไทยในรอบ
8 ปีที่ผ่านมา สาเหตุหลัก และสถานที่เกิดเหตุ ตามด้วยความรู้เบื้องต้นเรื่องความเร็ว
ผลกระทบ และความสำคัญของการจัดการความเร็วในเขตเมือง เขตชุมชน วิธีการวัดความเร็วอย่างง่าย
และมาตรการควบคุมความเร็ว ปิดท้ายด้วยกรณีศึกษาการควบคุมความเร็วในประเทศไทย
เอกสารฉบับนี้เหมาะสำหรับ
บุคคลทั่วไป ที่ต้องการความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องอุบัติเหตุ ความเร็ว และการจัดการความเร็ว
ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย
โดย :
ผศ.ดร.วิชุดา เสถียรนาม ผศ.ดร.ธเนศ เสถียรนามคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผศ.ดร.วิชุดา เสถียรนาม ผศ.ดร.ธเนศ เสถียรนามคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ดร.กนกพร รัตนสุธีระกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผศ.ดร.จินดาพร จำรัสเลิศลักษณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
นางสาวพรศิริ อุระภา นิสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
นางสาวทัศวรรณ ผาเจริญ นิสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น