การจัดการความเร็วในชุมชน...



การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการความเร็ว

บนถนนในชนบท 

.........................................................................................

โดยใช้วิธีการศึกษาและวิเคราะห์ตามหลัก Content analysis 

โดยจำแนกเป็นหมวดหมู่ดังนี้

1.สถานการณ์โดยภาพรวม
          1.1 ปัจจัยและผลกระทบที่ส่งผลต่อความเร็วในการขับขี่ยานพาหนะ

          สถานการณ์โดยภาพรวมของปัญหาความเร็วในชุมชน โดยเฉพาะชุมชนชนบท พบว่า เมื่อสังคมชนบทมีการขยายตัวและมีการกลายเป็นเมือง (urbanization) มากขึ้นส่งผลให้ชุมชนชนบทมีความคับคั่งของยานพาหนะมากขึ้น ในขณะเดียวกันการเกิดอุบัติเหตุในถนนของชุมชนนั้นสาเหตุหลักมาจากการชำรุดของถนน เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นพบว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้นในแทบทุกปี ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล,การสูญเสียผลผลิตในการทำงาน และค่าใช้จ่ายที่เกิดกับการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ในขณะเดียวกันลักษณะการชนมีความสัมพันธ์กับความเร็ว และการชนที่เกิดจากความเร็วคิดเป็นร้อยละ 18 ของการชนที่เกิดอุบัติเหตุ ความเสียหายจากการชนที่เกิดจากความเร็วมีค่าใช้จ่ายประมาณ 40.4 ล้าน ดอลล่าร์ สหรัฐในทุกปี ในหลายๆประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศที่มีรายได้ปานกลางมักจะประสบปัญหาจากความสูญเสียจากอุบัติเหตุ ในขณะเดียวกันความเร็วที่ก่อให้เกิดการชนกันก็ยากที่จะทำนายได้, ความเร็วเป็นปัญหาที่ซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับการปฏิสัมพันธ์ในหลายๆปัจจัย เช่น ทัศนคติ พฤติกรรมของผู้ขับขี่ยานพาหนะ,การออกแบบของถนน และการบังคับใช้กฎหมาย โดยส่วนใหญ่ประมาณ 70 % ของรถมอเตอร์ไซค์ มีการขับขี่ด้วยความเร็วมากกว่าที่กฎหมายกำหนด การเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยีเป็นต้นเหตุของการขับขี่ด้วยความเร็ว อัตราความเร็วและการชน มักจะเกิดขึ้นโดยเฉลี่ย กับผู้ขับขี่10,000 กับระยะทางประมาณ 970 กิโลเมตร บนถนนทางหลวงชนบท,ความกว้างของถนน และจำนวนช่องทางจราจรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกอัตราความเร็วในการขับชี่ยานพาหนะ รวมถึงปัจจัยเชิงสิ่งแวดล้อม การเพิ่มขึ้นของมอเตอร์ไซค์ และการพัฒนาทางเศรษฐกิจส่งผลต่อความต้องการเพิ่มขึ้นของการสร้างถนน และการสร้างถนนที่ได้มาตรฐานจะช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางและลดความแออัด 1 ใน 3 ของปัจจัยการเกิดอุบัติมาจากความเร็วในการขับขี่ และ การเร่งความเร็วที่เพิ่มขึ้น คือ การเร่งการเสี่ยงบนท้องถนน การวิจัยบ่งชี้ว่า อัตราการบาดเจ็บบนท้องถนนเพิ่มขึ้น 5 % ใน 1 ไมล์/ชั่วโมง ความเร็วที่เกินกำหนด ในขณะที่ผู้ขับรถดื่มแอลอกอฮอล์เป็นสาเหตุขอการชนบนท้องถนน OECD ประมาณการว่า ความเร็วเป็น 1 ใน 3 ของปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนถนน ในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ได้ให้ความสำคัญต่อความปอลดภัยบนถนนชนบท เป็นประเด็นหลัก ในปี ค.ศ. 1999-2003 60 % ของการเกิดอุบัติเหตุเกิดบนถนนในชนบท ในขณะที่ 70 % ของอุบัติบนถนนชนบทพบในประเทศนิวซีแลนด์ จำนวนการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากการชนบนถนนในชนบทของประเทศออสเตรเลียประมาณ 893 ครั้ง/ปี (1999-2003) ในขณะที่ประเทศนิวซีแลนด์พบว่าอุบัติเหตุจากการชนบนถนนชนบทประมาณ 278 ครั้ง/ปี 

 
ภาพการออกแบบระบบการลดความเร็วรถยนต์ภายในเขตชั้นในของนิวยอร์ค

 ที่มา: New York City Department of Design and Construction, Active Design Guidelines Promoting Physical Activity and Health in Design, 2010


         1.2 ข้อจำกัด/ปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมความเร็ว


ที่มา : ThaiMAB.com
         การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ความสนใจต่อสาเหตุการชนแต่ไม่ได้ให้ความสนใจในแง่ความรุนแรงของการชน และเมื่อจำแนกข้อมูลทางสถิติก็มักจะไม่ปรากฏกรณีที่กล่าวถึงเรื่องความรุนแรงในการชน การควบคุม ความเร็ว มักจะใช้รูปแบบการจัดการแบบเดิมที่ไม่มีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันการควบคุมความเร็วก็ไม่สามารถที่จัดการได้อย่างเหมาะสมในทุกที่และทุกเวลา เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม และทัศนคติของผู้ขับขี่ เกิดปัญหาความสับสนในการส่งสารที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความเร็ว ประมาณ 15 % อุบัติเหตุจะเกิดขึ้นบนถนนในชนบท และประมาณ 15-20% การชนกันเกิดขึ้นในถนนในชนบท การขาดนโยบายความปลอดภัยบนถนนที่ชัดเจน ส่งผลให้เกิดการขาดการจัดการความปลอดภัยบนถนนชนบท
 

1.3  แนวทางการจัดการความเร็วบนถนนชุมชน    

          การจัดการความเร็วต้องอาศัยนโยบายที่ผสมผสานและเหมาะสมสำหรับการดำเนินการในขณะเดียวกันต้องไม่มีเพียงมาตรการเดียวในการลดความเร็วของยานพาหนะบนถนน การจัดการความเร็วเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการปรับปรุงความปลอดภัยบนถนน แต่ไม่ใช่งานที่ง่ายนัก และยากต่อการตอบคำถามว่า “จะทำอะไร” และ “ที่ไหน”การให้นิยามถนนในชนบท คือ เป็นถนนที่กำหนดอัตราความเร็วในการขับขี่ไม่เกิน 80 กิโลเมตร/ชั่วโมงอาจจะต้องมีการพิจารณาเพิ่มเติมในแง่ของความหนาแน่นของประชากร และการเข้าถึงของการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินด้วย




2.สาเหตุ/ปัจจัยเชิงพฤติกรรม เชิงกายภาพ 

         2.1 เชิงกายภาพ (ยานพาหนะ,สภาพแวดล้อม,โครงสร้างของถนน)

- ความเร็วที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการเดินทางในระยะทางไกล
- ความสับสนของป้ายจำกัดความเร็วส่งผลต่อผู้ขับขี่และการรุกล้ำเส้นขอบถนนเข้าไปบริเวณภูมิทัศน์ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ
- การเพิ่มขึ้นของความรุนแรงของอุบัติเหตุเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของความเร็วในการขับขี่ยานพาหนะบนถนนในชนบท
- การเพิ่มขึ้นของยานพาหนะและความคับคั่งส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุบนถนนในชุมชน
- สภาพภูมิอากาศ แสงสว่าง จำนวนทางแยก ทางตรง ทางโค้ง โค้งข่ายของถนนที่มีระยะทางที่ยาวเกินไป
- การเดินทางโดยลำพัง พื้นผิวถนนที่เป็นดินกรวด ผุ่น และ เส้นทางการสัญจรของสัตว์ป่าหรือสัตว์เลี้ยงล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ก่อให้อุบัติเหตุบนถนนในชนบท
- สภาพของรถยนต์ที่ออกแบบให้เกิดสะดวกสบายในการขับขี่ยานพาหนะมีความสัมพันธ์กับการรับรู้เรื่องความเร็วในการขับขี่
          2.2 เชิงพฤติกรรม

- การจำกัดความเร็วที่กำหนดค่าเดียวกันบนถนนทุกถนนทำให้ผู้รับสารเกิดความผิดพลาดในถนนที่มีบริบทที่แตกต่างกัน

- การแข่งขันการประชาสัมพันธ์รถใหม่ที่ระบุว่าเร่งความเร็วในสูง ส่งผลต่อการขัดแย้งเชิงนโยบายของรัฐบาลในเรื่องความปลอดภัยบนถนน

- ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มความเร็วของผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ ได้แก่ เพศ อายุ ทัศนคติ และการรับรู้เรื่องความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ, การบังคับใช้กฎหมาย,ระยะเวลาในการเดินทาง,การมี/ไม่มีผู้โดยสาร,ความใหม่ของยานพาหนะ,วัตถุประสงค์การเดินทาง,ประสบการณ์ในการขับขี่

- ทัศนคติของผู้ขับขี่ที่คิดว่าการขับรถด้วยความเร็วจะช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง หรือ ต้องการจะโชว์ให้ผู้อื่นเห็นว่าคนเองมีประสบการณ์หรือมีความเชี่ยวชาญในการขับรถ ตลอดจนค่านิยมส่วนบุคคลมีผลต่อการขับขี่ด้วยความเร็ว,ความเชื่อของผู้ขับขี่ที่คิดว่าเป็นการยากที่จะควบคุมการขับรถด้วยความเร็วที่จำกัด หรือ ที่เหมาะสม ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่มักจะขับขี่ด้วยความเร็วเกินกำหนดด้วยสาเหตุจากสภาพอากาศ เช่น ฝนตก หมอก ควัน หรือ ต้องการหลีกหนีจากการติดขัดทางจราจร หรือทัศนคติของผู้ขับขี่ด้วยความเร็วสูง คือ การให้รางวัลกับตัวเองในระยะทางสั้นๆของการเดินทาง

-บุคลิกของผู้ขับขี่ยานพาหนะที่ก้าวร้าว ชอบการแข่งขัน ล้วนแต่ส่งผลต่อพฤติกรรมการขับขี่

- ผู้ขับขี่มักจะสูญเสียการควบคุมรถ หรือ ไม่สามารถป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้ ในระยะเวลาที่ผู้ขับขี่คิดว่ากำลังอยู่ในช่วงเวลาที่ดี สบายๆ และมักจะทำให้ตัดสินใจผิดๆในการเพิ่มความเร็วในการขับขี่

- การขับขี่ยานพาหนะและเดินทางเพียงลำพังจะส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกความเร็วในการขับขี่

- ความผิดพลาดในการตัดสินใจ หรือ คาดคะเน ของผู้ขับขี่ แปรผันกับ ความเหนื่อยล้าของผู้ขับ,การดื่มแอล

กอออล์หรือ ใช้สารเสพติด, ผู้ขับขี่ที่อายุต่ำว่า 25 ปี หรือ ผู้สูงอายุ (มากกว่า60ปี)
- อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มความเร็วในการขับขี่,การไม่คาดเข็มขัดนิรภัย,การขับรถบนถนนที่ไม่ชำนาญเส้นทาง





3.ผลกระทบ

          อัตราการเกิดอุบัติเหตุและความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุ :  การเพิ่มความเร็วเฉลี่ย 10% จะทำให้อัตราการเกิดอุบัติจากการชนเพิ่มขึ้นประมาณ 26 % และ 30 % สำหรับความรุนแรงจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการชน,-ความเร็วเป็นปัจจัยที่สำคัญประมาณ 30 % ของอุบัติเหตุในการชนและก่อให้เกิดการเสียชีวิตและ เป็นสาเหตุ 12 % สำหรับเหตุของการชนทั้งหมด,ผู้สัญจรทางเท้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ โดยหากผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็ว 20mph จะมีเพียง 1 คนใน 20 คนเท่านั้นที่เสียชีวิต แต่อุบัติเหตุส่วนใหญ่พบว่าเป็นอุบัติเหตุเล็กน้อยและมีเพียง 3 ใน 10 คน ที่ได้รับบาดเจ็บ ในขณะที่ขับที่ความเร็ว 30 mph เกือบ 50 % ของผู้สัญจรทางเท้าจะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ และที่ 40 mph ผู้สัญจรทางเท้าจะเสียชีวิตเกือบทั้งหมด,ผู้ขับขี่ที่ยังเป็นวัยรุ่น ส่วนใหญ่มักจะมีท่าที่ในการแสดงออกถึงพฤติกรรมการขับขี่ยานพาหนะด้วยความเร็ว และเมื่อเกิดอุบัติเหตุการชน ส่วยใหญ่มักจะเสียชีวิต,กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีอัตราการรอดชีวิตน้อยเมื่อเกิดอุบัติเหตุการชนเกิดขึ้นจากยานพาหนะ ได้แก่ กลุ่มผู้สัญจรทางเท้า ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ขนาดเล็ก (น้อยกว่า 50 ซีซี) และรถมอเตอร์ไซค์ และส่วนใหญ่เกิดกับกลุ่มคนอายุ 17-25 ปี , 26-39 ปี และ 40-59 ปี โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย

          ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม : การขับรถด้วยความเร็วส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 


4.มาตรการที่ดำเนินการ

          การกำหนดแผน : รัฐบาลจัดทำแผน 10 ปี เพื่อความปลอดภัยบนถนน ภายใต้ชื่อ “Tomorrow’s Roads-safer for everyone, -สร้างแนวปฏิบัติการจัดการความปลอดภัยบนถนนให้กับองค์กรปกครองระดับท้องถิ่น, สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาระบบการจราจรของท้องถิ่น

หน่วยงานของรัฐทั้งในระดับชาติหรือระดับท้องถิ่นจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายและ กำหนดวิธีการบรรลุซึ่งผลลัพธ์ของยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ : การจัดการความปลอดภัยบนถนนต้องดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ 5 E ได้แก่ 1.Education เช่น การให้การศึกษาเรื่อง safer driving with age : SAGE ได้แก่ การให้โอกาสแก่ผู้ขับขี่ที่สูงอายุได้รับความรู้ในเรื่องการจัดการความเร็ว 2. Engineering 3.Enforcement 4. Encouragement 5.Evaluation หรือบางประเทศ เช่น สวีเดนกำหนด ยุทธศาสตร์ vision zero ประเทศเธอร์แลนด์ กำหนดยุทธศาสตร์ การพัฒนาที่ยั่งยืนที่ปลอดภัย (sustainability safety) ในออสเตรเลีย กำหนด ยุทธศาสตร์ ระบบที่ปลอดภัย (safe system),จัดให้มีคณะกรรมการชุมชนในดำเนินการร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่นในการส่งเสริมถนนปลอดภัย


          วิธีการ : สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการกำหนดปัญหา และผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนาแผนและในการแก้ไขปัญหา และร่วมกันค้นหาความเร็วที่เหมาะสมบนถนนของชุมชนโดยประชาชนเป็นผู้กำหนด โดยเริ่มต้นจากการสำรวจความต้องการของชุมชน, การร่วมกันกับผู้นำท้องถิ่นในการกำหนดความเร็วขั้นต่ำที่เหมาะสม,การนำเสนอข้อมูลเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดูแลผู้ประสบอุบัติเหตุและการรักษาพยาบาลโยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บด้วยอุบัติเหตุ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่ายาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ค่ารถบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน , ค่าเสียโอกาส,ค่าการดำเนินการตามกฎหมาย,ค่าประกันภัยจากอุบัติเหตุ และความเสียต่อทรัพย์สินอื่นๆ เพื่อสร้างความตระหนักร่วมในการจัดการความเร็วในชุมชน, เพิ่มความตระหนักต่อผู้ใช้รถใช้ถนนในผลเสียหายที่เกิดขึ้นจากการขับรถด้วยความเร็ว และการเพิ่มความเร็วในการขับขี่เป็นประเด็นที่มีความสำคัญต่อผู้อาศัยในชุมชน,สร้างความรับผิดชอบร่วมกันกับบริษัทที่ผลิตยานพาหนะในการรับผิดชอบต่อพฤติกรรมผู้ขับขี่ยวดยาน,เรียกร้องให้เกิดการทำงานร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการการจราจรในชุมชน,การให้การศึกษาแก่ผู้ขับขี่หน้าใหม่ หรือ ผู้เริ่มขับขี่ยานพาหนะ ผ่านโครงการที่เรียกว่า “Wise Drive” การขับรถด้วยความฉลาด ที่ดำเนินการโดยตำรวจและภาคีเครือข่าย โดยมีเป้าหมายในการให้การศึกษาแก่บุคคลที่อายุประมาณ 15-16 ปี และเป็นกลุ่มที่อันตรายในการขับขี่ ตลอดจนสร้างความรับผิดชอบในการขับขี่ยานพาหนะก่อนที่เขาจะสตาร์ทรถออกเดินทาง ,การกำหนดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้ขับขี่ต้องการการกำหนดมาตรการดำเนินการที่เหมาะสมและเป็นไปได้ในการจัดการปัญหาความเร็ว,การสร้างข้อตกลงหรือคำมั่นสัญญาร่วมกันกับสาธารณะในการบังคับใช้ความเร็วบนโครงข่ายถนนโดยรัฐบาล


         เครื่องมือ : .ใช้การสำรวจเพื่อประเมินสถานการณ์ร่วมกัน,ใช้ฐานข้อมูลความเร็วเป็นเครื่องมือในการติดตามและประเมินผล มาตรการการลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนขับรถเร็วเกินกำหนดด้วยการลงโทษและจัดโปรแกรมให้การศึกษาควบคู่ไปด้วย การแบ่งเขตพื้นที่ทีควบคุมความเร็วพิเศษ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับการลงโทษที่เพิ่มขึ้นจากเดิม

          การให้การศึกษา : ทั้งในระบบโรงเรียนและการศึกษานอกระบบโดยจัดให้มีการให้การศึกษาในเรื่องการจัดการความเร็ว จัดโปรแกรมให้การศึกษาเรื่องความเร็ว การส่งเสริมการศึกษาควรกำหนดเป้าหมายหลักที่เด็ก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่เปราะบางที่สุดของการใช้รถใช้ถนน, การจัดโปรแกรมสร้างความจำเรื่องประเภทของถนนและความเร็วที่เหมาะสมแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และการเลือกความเร็วที่เหมาะสมในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน

          การประชาสัมพันธ์ : ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรทัศน์/วิทยุ/แผ่นพับ และสื่อสารข้อมูลสู่สาธารณะ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีขับด้วยความเร็วที่กฎหมายกำหนด ในประเด็น การจำกัดความเร็วที่กำหนดใหม่ ควรแจ้งให้ทราบถึงระยะที่ปลอดภัยของการหยุดรถ ตลอดจนประโยชน์ที่เกิดในการจำกัดความเร็วด้วยตัวเลขใหม่ ตลอดจนนำเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน สร้างความประทับใจในการดำเนินงานของตำรวจเพื่อลดความกดดันในการบังคับใช้กฎหมาย รณรงค์การดื่มไม่ขับ การออกแบบการประชาสัมพันธ์โปรแกรมการจัดการความเร็ว ควรเริ่มต้นจาก

                   1.ประชาสัมพันธ์ แจ้งเพื่อทราบการขับรถในที่สาธารณะที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายบนถนน

                   2. จำแนกประเภทของผู้ขับขี่ที่อาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยบนถนน

                   3. การบังคับใช้กฎหมายจราจรจะช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นบนถนนได้
                   4.ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ โดยข้อความที่สื่อสารแบบเฉพาะเจาะจง และหวังผล โดยการสร้างสโลแกนที่จำได้ง่าย ผ่านวิทยุท้องถิ่น แจกโปสเตอร์ หรือ ใบปลิว ที่สามารถติดหลังรถได้ และจัดส่งสื่อประชาสัมพันธ์ที่บริษัทที่จ้างพนักงานขับรถเพื่อกระจายข่าวประชาสัมพันธ์ถึงพนักงานขับรถในบริษัท และส่งเสริมให้นายจ้างที่จ้างพนักงานขับรถเข้าใจถึงหน้าที่และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความปลอดภัยบนถนน และเป็นอาชีพที่เสี่ยงบนถนนอีกอาชีพหนึ่ง ตลอดจนใช้กระบวนการตลาดเพื่อสังคม (Social Marketing) มาช่วยเป็นหลังในการขับเคลื่อนการสร้างความปลอดภัยบนถนนรณรงค์ประชาสัมพันธ์จัดโครงการที่เน้นการขับขี่ยานพาหนะในความเร็วที่เหมาะสม




5.ข้อเสนอแนะ


          1.พัฒนาระบบของชุมชนในการกำหนดความเร็วที่เหมาะสมสำหรับย่านชนบท สร้างระบบชุมชนในการสนับสนุนความปลอดภัยบนถนนในชุมชน

          2.จัดลำดับชั้นของถนนในชนบทเพื่อการจัดการความเร็วที่ต่างระดับกัน

          3.เพิ่มและเชื่อมโยงประเด็นความเร็วที่มีผลกระทบสภาวะโลกร้อนและการสูญเสียพลังงาน

          4.จัดการความเร็วภายใต้หลักการขั้นต่ำ 3 E ได้แก่ engineering, enforcement, education

          5.สร้างความตระหนักแก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะในการใช้ความเร็วที่สอดคล้องกับป้ายเตือน

          6.สร้างค่านิยมที่ถูกต้องแก่ผู้ขับขี่ในการทำความเข้าใจถึงค่าสูงสุดของความเร็วที่ขับขี่ได้แต่ไม่ใช่ค่าเป้าหมายที่ความเร็วจะต้องไปให้ถึง

          7.นำสถาบันครอบครัวมาเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนความปลอดภัยบนถนน

          8.พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายที่ผสมผสานระหว่างนโยบายการจัดการความเร็วและผสมผสานกับนโยบายอื่นเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ

          10. พัฒนาระบบวิจัยอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากถนนในชนบท และติดตามถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ค้นหาแนวโน้มของการชน และสาเหตุของการบาดเจ็บ

          11.สร้างหรือค้นหาองค์ความรู้ของชุมชน และตั้งอยู่บนฐานวัฒนธรรมชุมชนในการทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขับขี่รถด้วยความเร็วเกินกำหนด และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ





เอกสารอ้างอิง; การทบทวน review เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการความเร็วบนถนนในชนบทโดยใช้วิธีการศึกษาและวิเคราะห์ตามหลัก Content analysis โดยจำแนกเป็นหมวดหมู่

1.Website
·                   http://www.dft.gov.uk/topics/road-safety/
·                   http://www.fhwa.dot.gov/publications/research/safety/98154/
·                   http://toolkit.irap.org/default.asp?page=treatment&id=48
·                   http://erscharter.eu/resourcedocuments/9564
·                   http://www.grsproadsafety.org/
·                   http://safety.fhwa.dot.gov/speedmgt
·                   http://www.roadsafe.com/programmes/speed.aspx

2.เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

·                   European Transport Safety Council. Managing Speed towards Safe and Sustainable Road Transport. Brussels,  2008

·                   ORGANISATION FOR ECONOMIC CO-OPERATION AND DEVELOPMENT.SPEED MANAGEMENT.2006

·                   Michael Paine. RESEARCH REPORT RR 5/96 Speed Control Devices for Cars Roads and Traffic Authority Road Safety & Traffic Management .1996

·                   Minnesota Department of Transportation. Research Services Section Evaluating the Effectiveness of the Minnesota Speed Management Program. 2007

·                   Global Road Safety Partnership. Speed management: a road safety manual for decision – makers and practitioners. Switzerland, 2008

·                   Wisconsin Transportation Bulletin • No. 21. Setting Speed Limits on Local Roads

·                   TRANSPORTATION RESEARCH BOARD.1998. MANAGING SPEED Review of Current Practice for Setting and Enforcing Speed Limits. NATIONAL ACADEMY PRESS

WASHINGTON,D.C.

·                   Essex County Council, Traffc Management and Policy Team .2010.Essex Strategy Speed Management. United Kingdom.

·                   U.S. DEPARTMENT OF TRANSPORTATION. 2005. Speed Management Strategic Initiative, U.S. DOT Speed Management Team.

·                   Speed management — 50km/h local street speed limit public education campaign

·                   Audtroads.2009. Guide to road safety Part 4 : Local government and community Road safety. Austroads Incorporated, Australia.


เรียบเรียงโดย :

ดร.กนกพร รัตนสุธีระกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น