คู่มือ... “การจัด...การความเร็วในชุมชน”




โครงการ : การศึกษาและพัฒนาชุดความรู้ด้านวิศวกรรมจราจรเพื่อความปลอดภัยทางถนนในชุมชนชนบท ระยะที่ 1



ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับผลกระทบจากอุบัติเหตุจราจรอย่างหนัก ทำให้รัฐบาลต้องยกให้ปัญหาดังกล่าวเป็นวาระแหงชาติ โดยกำหนดให้ ปี 2554 – 2563 เป็น ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน (Decade of Action for Road Safety)” มีเป้าหมายคือ ลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลงครึ่งหนึ่ง หรือในอัตราที่ต่ำกว่า 10 คนต่อแสนประชากร 
จากสภาพการณ์ในปัจจุบัน การจะไปให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ภายใน 10 ปีข้างหน้าเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก มาตรการหนึ่งที่พอจะช่วยทำให้มองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์นี้ คือ มาตรการการควบคุมความเร็ว ซึ่งมุ่งเน้นการจัดการความเร็วในการขับขี่ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ถนนกลุ่ม  มาตรการควบคุมความเร็ว นับเป็นมาตรการหลักและมาตรการแรกที่นิยมใช้ในการลดการตายบนถนนทั่วโลก ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะผลการศึกษาจำนวนมากรายงานตรงกันว่า ความเร็วที่ลดลงเพียงเล็กน้อย จะช่วยลดอัตราการตายได้เป็นอย่างมาก
เมื่อย้อนมองสาเหตุของอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย พบว่า สาเหตุหลักอันดับแรกของการตายบนถนนคือ การขับรถเร็วเกินกำหนด โดยกระทรวงคมนาคมรายงานว่า 3 ใน 4 ของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ เสียชีวิตบนถนนสายย่อยและถนนสายรอง ในเขตเมือง ในเขตชุมชน ดังนั้น การควบคุมความเร็วของถนนในเขตเมืองและชุมชนจึงเป็นประเด็นที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญ หากต้องการไปให้ถึงการจะไปให้ถึงเป้าหมายที่รัฐที่วางไว้ภายใน 10 ปีข้างหน้า
เอกสารฉบับนี้ เรียบเรียบจากงานวิจัยเรื่อง การศึกษาและพัฒนาชุดความรู้ด้านวิศวกรรมจราจรเพื่อความปลอดภัยทางถนนในชุมชนชนบท ระยะที่ 1 ความเร็ว สนับสนุนโดย ศวปถ. โดยเปิดประเด็นการนำเสนอด้วยภาพรวมของอุบัติเหตุจราจรในประเทศไทยในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา สาเหตุหลัก และสถานที่เกิดเหตุ ตามด้วยความรู้เบื้องต้นเรื่องความเร็ว ผลกระทบ และความสำคัญของการจัดการความเร็วในเขตเมือง เขตชุมชน  วิธีการวัดความเร็วอย่างง่าย และมาตรการควบคุมความเร็ว ปิดท้ายด้วยกรณีศึกษาการควบคุมความเร็วในประเทศไทย

เอกสารฉบับนี้เหมาะสำหรับ บุคคลทั่วไป ที่ต้องการความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องอุบัติเหตุ ความเร็ว และการจัดการความเร็ว ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย


โดย
ผศ.ดร.วิชุดา เสถียรนาม ผศ.ดร.ธเนศ เสถียรนามคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ดร.กนกพร รัตนสุธีระกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผศ.ดร.จินดาพร จำรัสเลิศลักษณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
นางสาวพรศิริ อุระภา นิสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
นางสาวทัศวรรณ ผาเจริญ นิสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม